Sky Blue Bobblehead Bunny

ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกภาษาไทย

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา  เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย  แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม
ผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 
ลักษณะคำประพันธ์
ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน
ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา
ความเป็นมา
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์
ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41
พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิต
และความทุกข์ของชาวนาที่มีสภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันนัก
                                                            "เปิบข้าวทุกคราวคำ                     จงสูจำเป็นอาจิณ
                                                       เหงื่อกูที่สูกิน                                      จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                                                           ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                                                       เบื้องหลังสิทุกข์ทน                            และขมขื่นจนเขียวคาว
                                                           จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                                       จากกรวงเป็นเม็ดพราว                        ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                                                           เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                                                       ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                 จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                                                           น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                                                       สายเลือดกูท้งสิ้น                                ที่สูชดกำชาบฟัน"


วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์

-         เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ ทรงใช้นามปากกาว่า รามจิตติ

-         ทรงเป็นโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

-         ทรงได้รับสามัญญา ว่า พระมหาธีระราชเจ้า แปลว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่

-         ทรงคัดเลือกจดหมายฉบับที่น่าอ่าน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพืมพ์รายสัปดาห์

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

ตัวชี้วัด ท 31102 ภาษาไทย


ตัวชี้วัด

๑. อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองให้ถูกต้อง และเหมาะสม

๒. ตีความแปลความและขยายความที่อ่าน

๓. วิเคราะห์วิจารณาเรื่องที่อ่าน

๔. ประเมินค่าเรื่องที่อ่านและนำมาใช้ในชีวิตจริง

๕. แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง และแสดงความคิดเห็นใหม่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

๖. ตอบคำถามเรื่องที่อ่าน

๗. มีมารยาทในการอ่าน

๘. เขียนสื่อสารได้ถูกต้อง ตามรูปแบบและใช้ภาษาได้ถูกต้อง

๙. เขียนเรียงความได้

๑๐. เขียนย่อความได้

๑๑. ประเมินงานเขียนของผู้อื่นและนำมาพัฒนางานเขียนของตน

๑๒. ผลิตงานเขียนของตนเอง ในรูปแบบต่างๆ

๑๓. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ และใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงได้ถูกต้อง

๑๔. บันทึกการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปพัฒนาตนเองได้

๑๕. มีมารยาทในการเขียน

๑๖. ประเมินเรื่องที่ฟังและดูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง

๑๗. มีวิจารณาญาณในที่เลือกและดู

๑๘. มีมารยาทในการฟังและการดูและการพูด

๑๙. พูดในโอกาสต่างๆ

๒๐. แต่งบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสม

๒๑. วิเคราะห์ทัศนะของภาษาต่างประเทศได้

๒๒. อธิบายวิเคราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้

๒๓. วิเคราห์ประเมินการใช้ สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๒๔. วิเคาระห์วิจารณาวรรณคดีวรรณกรรมหลักตามวิจารญาณเบื้องต้นได้

๒๕. วิเคาระห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงการเรียนรู้ต่อประวัติศาสตร์

๒๖. ประเมินคุณค่าด้านวัฒนธรรมได้

๒๗. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีวรรณกรรมและนำไปประยุกต์ใช้จริงได้

๒๘. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานที่มีคุณค่าและนำไปใช้อ้างอิงได้